Monday, May 24, 2021

ยินดีต้อนรับสู่ Blog ของผมครับ

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blog ส่วนตัวของผมครับ 




ผมชื่อ วรรธนะ โกศัลวัฒน์ เป็นครูสอนวิชาฟิสิกส์ ระดับมัธยมปลาย อยู่ที่ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศร่มเกล้า  

ในBlog นี้ ผมจะนำประสบการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอน ต่างๆมาแบ่งปันความรู้ 
รอติดตามนะครับ 

การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้ ADDIE Model

 ADDIE Model คือ หลักการในการผลิตสื่อการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้

A= Analysis ในขั้นนี้ผู้ผลิตสื่อ จะต้องวิเคราะห์ 4 อย่าง เพื่อสร้างสื่อที่ดี ได้แก่

                        1. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ว่า อยากให้ผู้เรียนเค้าเรียนรู้อะไร ต้องการทำสื่อเพื่ออะไร

                        2. วิเคราะห์ผู้เรียนว่า เด็กอ่านออกเขียนได้ไหม เด็กรู้ในระดับชั้นไหน วัยไหนมีความสนใจ                                อะไร 

                        3. วิเคราะห์จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เพื่อรองรับการตรวจสอบคุณภาพของสื่อในขั้นต่อไป

                        4. วิเคราะห์เนื้อหา ว่า ในสื่อจะมีเนื้อหาการนำเสนออะไรเท่าไหร่ อย่างไร

D=Design ในขั้นนี้คือขั้นการออกแบบสื่อ การออกแบบลำดับการเล่าเรื่อง Flow Chart ,Story Board เรื่อง                         Screen สี ตัวอักษร ภาพต่างๆ 

D = Develop  เป็นขั้นตอนการพัฒนาและจัดทำสื่อการเรียนรู้

I = Implement ขั้นตอนการนำไปใช้

E = Evaluation ขั้นตอน การวัดและประเมินผล การตรวจสอบคุณภาพของสื่อการเรียนรู้


ตัวอย่าง ผมใช้ ADDIE โมเดลในการพัฒนา คลิป วิดีโอเรื่องกลไกการถ่ายเทความร้อนเบื้องต้น ซึ่งเป็นเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ดังในคลิปนี้ครับ


การพัฒนานำ ADDIE Model ไปใช้ดังนี้

A Analysis = วิเคราะห์จุดประสงค์ การพัฒนาสื่อนี้ เพื่อนำเสนอเนื้อหาในวิชาฟิสิกส์เรื่องกลไกการถ่ายเทความร้อน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยเมื่อนักเรียนดูคลิปนี้จบแล้ว นักเรียนจะต้องสามารถอธิบายกลไกการนำความร้อน 3 กลไก ได้แก่ การนำความร้อน การพาความร้อน และการแผ่รังสีความร้อนได้ถูกต้อง

D Design = การออกแบบใช้ PowerPoint ในการออกแบบ การใช้ภาพและ Slide ในการนำเสนอเรื่องราว

D Develop = การพัฒนา โดยใช้โปรแกรม PowerPoint อัดภาพและเสียงประกอบการอธิบายไปทีละ slide

I Implement    = คาดว่าจะนำไปให้นักเรียนดูประกอบการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2564 ที่จะถึงนี้

E Evaluation = การวัดและประเมินคุณภาพของสื่อ ทำได้โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน โดยใช้แบบประเมิน rating scale 5 ระดับ 

ทฤษฏีการเรียนรู้ที่ใช้นั้น ได้รับอิทธิผลของกลุ่ม Gestalt ที่กล่าวว่า 
1 การสอนแบบให้ผู้เรียนเห็นภาพรวมก่อน ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดี
2 การสอนโดนอาศัยการต่อยอดและขยายขอบเขตขององค์ความรู้เดิม
3 การจัดระบบของสิ่งที่เหมือนกันคล้ายๆ กันมานำเสนอด้วยกัน จะทำให้เรียนรู้ได้ดี

การเรียนรวมสู่แผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP)

     ในการจัดการศึกษาในปัจจุบัน มีแนวคิดการศึกษาเพื่อทุกคน (Education for All) เป็นแนวคิดที่ว่า เด็กทุกคน แม้ว่ามีความแตกต่างทั้งเรื่อง สภาพร่างกาย เพศ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม จะต้องได้รับการศึกษา อย่างเท่าเทียมตามศักยภาพที่มี แนวคิดดังกล่าวนำมาสู่การจัดการเรียน ที่เรียกว่า การเรียนรวม

    การเรียนรวม หมายถึง จัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคน โดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือแยกเด็กที่ด้อยกว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและรูปแบบวิธีการสอนให้เด็กเกิดการเรียนรู่และพัฒนาการตามศักยภาพ และความต้องการจําเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล

    แนวคิดดังกล่าวจึงนำมาสู่ แผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP)

ในการณีของวิชาฟิสิกส์ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 เทอมที่ 1 หากมีเด็กพิเศษที่อาจเรียนรู้ช้ามาเรียนร่วมกับเด็กปกติ นั้น แผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) สำหรับนักเรียนกลุ่มที่เรียนรู้ช้า จะได้รับการสอนเหมือนกับเด็กปกติ แต่จะแตกต่างในเรื่องของ ใบงาน และการวัดประเมินผล ของเด็กพิเศษ จะง่ายกว่า 

ตัวอย่าง แผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP)

แผนการสอนเฉพาะบุคคล

(Individual Implementation Plan : IIP)

 

ชื่อผู้เรียน  นายองอาจ อามิเกล โคลา       กลุ่มสาระการเรียนรู้/ทักษะ  วิทยาศาสตร์

ชั้น  ม.5   จำนวน  1  คาบ  คาบละ  50  นาที

วันที่สอน  ครั้งที่  1  วันที่เริ่มต้น  14  มิถุนายน  2564  วันสิ้นสุด  18  มิถุนายน  2564

1.  เนื้อหา

          การศึกษาเรื่องการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย เป็นการศึกษาสั่นหรือการแกว่ง ซึ่งมีลักษณะการเคลื่อนที่กลับไปมา ซ้ำรอยเดิม มีคาบและความถี่ที่แน่นอน การเข้าใจเรื่องการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่ายช่วยให้นักเรียนเข้าใจและอธิบายปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสั่นหรือการแกว่งทั้งหมด เช่น การสั่นสปริง การแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกา การแกว่งของชิงช้า การสั่นที่เกิดจากทำงานของเครื่องยนต์กลไก การสั่นของผลึกควอทซ์ในนาฬิกา การสั่นทะเทือนของแผ่นดิน เป็นต้น

2.  จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

          1.  อธิบายลักษณะของการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่ายได้

2.  เมื่อยกตัวอย่างการเคลื่อนที่แบบใดก็ตาม นักเรียนสามารถบอกได้ว่าในตัวอย่างที่ยกมา เป็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย หรือ เป็นการเคลื่อนที่แบบอื่นๆ

3.  กระบวนการจัดการเรียนรู้

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

          1. ครูชี้แจงชื่อเรื่องที่จะสอน พร้อมกับบอกวัตถุประสงค์ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

2. นักเรียนดูคลิปที่แสดงเคลื่อนไหว ที่เป็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิก ที่พบในชีวิตประจำวันมา 3 ตัวอย่าง พร้อมทั้งถามว่านักเรียน การเคลื่อนที่ของทั้ง 3 ตัวอย่างที่หยิบยกมาว่ามีลักษณะร่วมกันอย่างไร ให้นักเรียนตอบอย่างอิสระ โดยไม่หวังคำตอบที่ถูกต้อง

3. นักเรียนดูคลิปที่แสดงคลื่อนที่แบบอื่นๆ ได้แก่ การเคลื่อนที่แบบเส้นตรง การเคลื่อนที่วิถีโค้ง และการเคลื่อนที่แบบวงกลม แล้วถามว่านักเรียน การเคลื่อนที่ของทั้ง 3 ตัวอย่างที่หยิบให้ดูนั้น มีลักษณะแตกต่างจากการเคลื่อนที่ 3 ชุดแรกที่หยิบยกมาในข้อที่ 2 อย่างไร เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ โดยไม่หวังคำตอบที่ถูกต้อง

ขั้นสอน

1. ครูบรรยายให้ความรู้ เรื่อง ลักษณะการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย พร้อมทั้งอธิบายปริมาณทางฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด อย่างสั้น อย่างกระชับ

2. ให้นักเรียนทุกคนทำใบงานที่ 1 เรื่อง ลักษณะการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิก โดยปล่อยให้นักเรียนค้นหาคำตอบจากแหล่งต่างๆ อย่างอิสระ ตามรูปแบบการเรียนรู้ที่นักเรียนถนัด ได้แก่ เนื้อหาที่ครูบรรยาย หรือ จากในหนังสือแบบเรียนฟิสิกส์ เล่ม 3 ของ สสวท หน้าที่ 3-5 หรือ จากการปรึกษาหารือกับเพื่อนๆ ในชั้นเรียน

3. ให้นักเรียนทุกคนแลกใบงานกับเพื่อนข้างๆ เพื่อตรวจคำตอบของเพื่อน และสุ่มให้นักเรียนเฉลยคำตอบทีละข้อจนครบทุกข้อa เปิดโอกาสให้นักเรียนอธิปราย หรือถกเถียงกันเรื่องคำตอบได้อย่างอิสระ

ขั้นสรุป

ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาเรื่อง ลักษณะของการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิก ในรูปแบบของconcept map

4.  สื่อการจัดการเรียนรู้

          1 หนังสือเรียนรายวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3 สสวท

          2 ใบงานที่ 1 เรื่อง ลักษณะการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย

5.  สิ่งเสริมแรงที่ใช้

          1.  คำชมเชย

          2.  รางวัล

6.  การวัดผลประเมินผล

          1.  สังเกต

2.  ทดสอบความรู้

     วิธีวัดและประเมินผล

          1.  สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม

          2.  แบบทดสอบ

     เครื่องมือวัดและการประเมินผล

          1.  แบบสังเกต

          2.  แบบทดสอบ

     เกณฑ์การวัดและประเมินผล

          ผ่านเกณฑ์  ร้อยละ 60

7.  บันทึกผลหลังการสอน

     ผลการสอน

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

     ปัญหา/อุปสรรค

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ข้อเสนอแนะ

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

 

ตัวอย่างใบงานเด็กพิเศษ

ใบงานที่ 1

วิชา ฟิสิกส์ 3     รหัสวิชา 32203                                                       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

เรื่อง ลักษณะการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย                                         เวลา 1 คาบ

ชื่อ ……………………………………………………………………………………………….ชั้น……………เลขที่………………..

Short Note

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

คำถามท้ายบทเรียน

1. การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่ายมีลักษณะอย่างไร จงอธิบานพร้อมวาดภาพประกอบ (K)

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

2. จงอธิบายตำแหน่งสมดุล และหากวัตถุที่มีการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย ขณะที่วัตถุอยู่ที่ตำแหน่งสมดุล ปริมาณใดบ้างที่เป็นศูนย์ (K)

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

4. การเคลื่อนที่แบบวงกลมของจุกยาง การแกว่งของลูกตุ้มอย่าง่าย เป็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่ายหรือไม่เพราะเหตุใด (K)

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

5. เรามีหลักการอะไรที่ตัดสินว่า การเคลื่อนที่ใดเป็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย (K)

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


ตัวอย่างใบงานเด็กปกติ

ใบงานที่ 1

วิชา ฟิสิกส์ 3     รหัสวิชา 32203                                                                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

เรื่อง ลักษณะการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย                                                           เวลา 1 คาบ

ชื่อ ………………………………………………………………………………………………………….ชั้น……………เลขที่………………..

Short Note

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

 

คำถามท้ายบทเรียน

1. การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่ายมีลักษณะอย่างไร (K)

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

2. จงอธิบายตำแหน่งสมดุล และหากวัตถุที่มีการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย ขณะที่วัตถุอยู่ที่ตำแหน่งสมดุล ปริมาณใดบ้างที่เป็นศูนย์ (K)

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

4. การเคลื่อนที่แบบวงกลมของจุกยาง การแกว่งของลูกตุ้มอย่าง่าย เป็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่ายหรือไม่เพราะเหตุใด (K)

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

5. จงหาคาบต่อไปนี้ (ในหน่วยวินาที) (P)

5.1 ชีพจรเต้น 29 ครั้งในเวลา 20 วินาที                                   5.2 เครื่องยนต์หมุน 3200 รอบต่อนาที

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

6. จงหาความถี่ของเหตุการณ์ต่อไปนี้ (ในหน่วยรอบต่อวินาทีหรือเฮิรตซ์) (P)

6.1 สายซอสั่น 43 รอบ ใน 0.1 วินาที                              6.2 ใบพัดปั่นอาหารหมุน 13,000 รอบใน 1 นาที

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

7. เครื่องเคาะสัญญาณเวลาสั่นจำนวน 1200 รอบ ใน 1 นาที จงหาคาบและความถี่ของเครื่องเคาะสัญญาณเวลา (P)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

8. อธิบายลักษณะของการเปล่อยวัตถุจากจำแหน่ง A ให้เคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย เมื่อสังเกตการเคลื่อนที่ของวัตถุจากแนวสมดุล (ตำแหน่ง B) ไปตำแหน่งสูงสุด (ตำแหน่ง C) แล้วกลับมาที่แนวสมดุล (ตำแหน่ง B) อีกครั้ง พบว่า ใช้เวลา 0.4 วินาที การแกว่งนี้มีคาบและความถี่เท่าใด (P)

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

9. เรามีหลักการอะไรที่ตัดสินว่า การเคลื่อนที่ใดเป็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย (K)

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

10. เราอธิบายการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย โดยต้องใช้ปริมาณใดทางฟิสิกส์(K)

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


รูปการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) คืออะไร

 

    รูปแบบการสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (Inquiry based learning 5 step) หรือเรียกสั้นๆง่ายๆ ว่า รูปแบบ 5E  เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีฐานคิดว่า นักเรียนจะเรียนรู้ความรู้ต่างๆ อย่างเข้าใจ และ จำได้ไม่ลืม นักเรียนจะต้องมีการค้นหา แสวงหาหรือค้นพบความรู้นั้นๆ ด้วยตัวเอง 

นำมาสู่การออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ ที่มี 5 ขั้นตอนได้แก่

ขั้นที่ 1 Engagement (ขั้นสร้างความสนใจ) เป็นขั้นที่ผู้สอนจะต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสงสัย ใคร่รู้ อยากรู้ อยากเห็น ผู้สอน อาจจะใช้คำถาม หรือ วิธีการใดๆ เพื่อกระตุ้น ดึงความสนใจ ให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น

ขั้นที่ 2 Exploration (ขั้นสืบเสาะและหาข้อมูล) เป็นขั้นตอนที่ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสวงหา ค้นพบความรู้ใดๆ ด้วยตัวเอง และแสวงหาคำตอบที่สงสัยด้วยตัวของนักเรียนเอง

ขั้นที่ 3 Explain (ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป) เป็นขั้นตอนที่ให้นักเรียนประมวลผล ความรู้ หรือคำตอบของสิ่งต่างๆที่ได้ค้นพบ มาประมวลผลสรุปเป็นความคิดรวบยอด 

ขั้นที่ 4 Elaborate (ขั้นขยายความรู้)  เป็นขั้นตอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนทดลอง ใช้องค์ความรู้ที่เพิ่งค้นพบมานั้น ต่อยอดขยายแนวความคิด เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ในกรณีใหม่ๆ 

ขั้นที่ 5 Evaluate (ขั้นประเมินผล) เป็นขั้นตอนที่ให้ ประเมินผลความรู้ที่ได้จากการสืบเสาะ สรุป ต่อยอดองค์ความรู้ว่า ได้มีการเรียนรู้อะไร ผลการเรียนรู้เป็นอย่างไร เพื่อนำผลที่ได้มาต่อยอด ในการเรียนรู้ต่อไปๆ


เอาไว้เท่านี้ก่อนสำหรับ ความหมายของรูปการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) ใน EPถัดไป ผมจะเสนอความคิดเห็นของผมต่อรูปแบบการสอนแบบ 5E นะครับ รอติดตามนะครับ

ตัวอย่างแผนการเรียนการสอนแบบ 5E


แผนการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชา ฟิสิกส์ 3 (เพิ่มเติม) รหัส 32203 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชื่อหน่วย การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย เวลาเรียน 9 คาบ

แผนการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง  ลักษณะการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย  เวลาเรียน 1 คาบ

ครูผู้สอน ม. วรรธนะ โกศัลวัฒน์ สอนวันที่ 17 พฤษภาคม เวลา 8.00-8.50 น.

 

๑. ผลการเรียนรู้

สาระฟิสิกส์

มาตรฐานที่ 2

ผลการเรียนรู้ชั้นปี ม.5/1

๒. สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด

          การศึกษาเรื่องการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย เป็นการศึกษาสั่นหรือการแกว่ง ซึ่งมีลักษณะการเคลื่อนที่กลับไปมา ซ้ำรอยเดิม มีคาบและความถี่ที่แน่นอน การเข้าใจเรื่องการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่ายช่วยให้นักเรียนเข้าใจและอธิบายปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสั่นหรือการแกว่งทั้งหมด เช่น การสั่นสปริง การแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกา การแกว่งของชิงช้า การสั่นที่เกิดจากทำงานของเครื่องยนต์กลไก การสั่นของผลึกควอทซ์ในนาฬิกา การสั่นทะเทือนของแผ่นดิน เป็นต้น

๓. จุดประสงค์การเรียนรู้ (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม)

ความรู้ (K-Knowledge) นักเรียนสามารถ

1. อธิบายลักษณะของการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย

2. ยกตัวอย่างการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่ายที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน

3. แยกแยะความแตกต่างระหว่าง การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย กับ การเคลื่อนที่แบบอื่นๆ

3. บอกความหมายของปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย ได้แก่ คาบ ความถี่ ตำแหน่งสมดุล และแรงสู่สมดุล

          ทักษะกระบวนการ (P-Process/ Practice)

1. เมื่อยกตัวอย่างการเคลื่อนที่แบบใดก็ตาม นักเรียนสามารถบอกได้ว่าในตัวอย่างที่ยกมา เป็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย หรือ เป็นการเคลื่อนที่แบบอื่นๆ

2. เมื่อพบเห็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย นักเรียนสามารถ วัดคาบ ความถี่ และแอมพลิจูด

3. นักเรียนสามารถคำนวณคาบ ความถี่ แอมพลิจูด และปริมาณที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิก อย่างง่าย

คุณธรรม จริยธรรม เจตคติ และค่านิยม (A-Attitude)

1. อยากรู้อยากเห็น ช่างคิดช่างสงสัย กับปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

2. กล้าแสดงความคิดเห็น

3. มีความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับหมอบหมาย ให้สำเร็จภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้

๔. สมรรถนะสำคัญที่สอดแทรก (อธิบายแนวคิดหรือวิธีการ)

1. การคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ไขปัญหาได้ (Critical Thinking and Problem Solving)

2. การสื่อสาร (Communication)

3. ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม (Collaboration Teamwork)

4. การเรียนรู้ (Learning Skills)

 

๕. สาระการเรียนรู้ / เนื้อหา (เขียนสรุปโดยย่อ)

การสั่น  (vibration) หรือการแกว่งกวัด  (oscillation) ทั้งสองคำานี้หมายถึงการเคลื่อนที่เดียวกัน การสั่นแบบที่ง่ายที่สุด คือ การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย  (simple harmonic motion) เป็น การเคลื่อนที่กลับไปมาซ้ำรอยเดิมผ่านตำแหน่งสมดุล (equilibrium position) อันเนื่องมาจากมีแรงกระทำในทิศทางเข้าสู่ตำแหน่งสมดุลตลอดเวลา โดยมี คาบ ความถี่และแอมพลิจูดของการเคลื่อนที่คงตัว

คาบ หมายถึง เวลาที่วัตถุใช้ในการเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ

ความถี่ หมายถึง อัตราส่วนของจำนวนรอบที่เคลื่อนที่ได้ต่อเวลาที่ใช้

แอมพลิจูด หมายถึง ระยะที่วัตถุห่างจากตำแหน่งสมดุลมากที่สุด

ตัวอย่าง การเคลื่อนที่ แบบฮาร์โมนิกอย่างง่ายได้แก่ มวลติดสปริง ลูกตุ้ม ชิงช้า เป็นต้น


 
          

๖. กิจกรรมการเรียนรู้

    คาบเรียนที่ 1

ขั้นเร้าความสนใจ (Engagement) 5 นาที

1.       ครูชี้แจงชื่อเรื่องที่จะสอน พร้อมกับบอกวัตถุประสงค์ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

2.       นักเรียนดูคลิปที่แสดงเคลื่อนไหว ที่เป็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิก ที่พบในชีวิตประจำวันมา 3 ตัวอย่าง พร้อมทั้งถามว่านักเรียน การเคลื่อนที่ของทั้ง 3 ตัวอย่างที่หยิบยกมาว่ามีลักษณะร่วมกันอย่างไร ให้นักเรียนตอบอย่างอิสระ โดยไม่หวังคำตอบที่ถูกต้อง

3.       นักเรียนดูคลิปที่แสดงคลื่อนที่แบบอื่นๆ ได้แก่ การเคลื่อนที่แบบเส้นตรง การเคลื่อนที่วิถีโค้ง และการเคลื่อนที่แบบวงกลม แล้วถามว่านักเรียน การเคลื่อนที่ของทั้ง 3 ตัวอย่างที่หยิบให้ดูนั้น มีลักษณะแตกต่างจากการเคลื่อนที่ 3 ชุดแรกที่หยิบยกมาในข้อที่ 2 อย่างไร เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ โดยไม่หวังคำตอบที่ถูกต้อง


ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) 10 นาที

1.       ทิ้งคำถาม ชวนใหนักเรียนคิด โดยยังไม่เฉลยให้แก่นักเรียน 2 ข้อดังนี้

a.       เรามีหลักการอะไรที่ตัดสินว่า การเคลื่อนที่ใดเป็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย

b.      เราอธิบายการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย โดยต้องใช้ปริมาณใดทางฟิสิกส์

2.       ให้นักเรียนศึกษาความรู้ เรื่อง ลักษณะการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย ในหนังสือ พร้อมตอบคำถามใน check point ที่กำหนดไว้ให้

 

    ขั้นอธิบาย (Explanation)  10 นาที

1.       ครูบรรยายให้ความรู้ เรื่อง ลักษณะการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย พร้อมทั้งอธิบายปริมาณทางฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด อย่างสั้น อย่างกระชับ

 

ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) 20 นาที

1.       ให้นักเรียนทุกคนทำใบงานที่ 1 เรื่อง ลักษณะการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิก โดยปล่อยให้นักเรียนค้นหาคำตอบจากแหล่งต่างๆ อย่างอิสระ ตามรูปแบบการเรียนรู้ที่นักเรียนถนัด ได้แก่ เนื้อหาที่ครูบรรยาย หรือ จากในหนังสือแบบเรียนฟิสิกส์ เล่ม 3 ของ สสวท หน้าที่ 3-5 หรือ จากการปรึกษาหารือกับเพื่อนๆ ในชั้นเรียน

2.        ให้นักเรียนทุกคนแลกใบงานกับเพื่อนข้างๆ เพื่อตรวจคำตอบของเพื่อน และสุ่มให้นักเรียนเฉลยคำตอบทีละข้อจนครบทุกข้อa เปิดโอกาสให้นักเรียนอธิปราย หรือถกเถียงกันเรื่องคำตอบได้อย่างอิสร

3.       อธิบายคำตอบของใบงานที่ 1 เฉพาะกรณีบางข้อที่นักเรียนเฉลยผิด

 

ขั้นประเมินผล (Evaluation) 5 นาที

1.       ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาเรื่อง ลักษณะของการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิก ในรูปแบบของ concept mapครูและนักเรียนร่วมกันสรุปคำตอบของ คำถามที่ว่า

a.       เรามีหลักการอะไรที่ตัดสินว่า การเคลื่อนที่ใดเป็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย

b.      เราอธิบายการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย โดยต้องใช้ปริมาณใดทางฟิสิกส์

 

 

 

๗. กระบวนการที่ใช้สอน (ระบุเฉพาะที่ใช้ในชั่วโมงหรือคาบสอน และระบุได้มากกว่า ๑ ข้อ)

þ  กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ   £  กระบวนการปฏิบัติ            £  กระบวนการกลุ่ม

þ  กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด    £  กระบวนการสร้างค่านิยม     £  กระบวนการแก้ปัญหา

£  กระบวนการสร้างความตระหนัก       £  กระบวนการเรียนภาษา       £  กระบวนการสร้างเจตคติ

£  กระบวนการคณิตศาสตร์                £  ทักษะกระบวนการ ๙ ขั้น     £  อื่นๆ..................................

£  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์          £  กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ   

£  กระบวนการอ่าน                         þ  กระบวนการวิเคราะห์

 

๘. วิธีการสอนที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ (ระบุเฉพาะที่ใช้ในชั่วโมงหรือคาบสอน และระบุได้มากกว่า ๑ ข้อ)

þ  การบรรยาย (Lecture)       £  การสาธิต (Demonstration) £  การทดลอง (Experiment)

£  แบบนิรนัย (Deduction)     þ แบบอุปนัย (Induction)       £  แบบทัศนศึกษา (Field Trip)

£  การอภิปรายรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)           £  การแสดงละคร (Dramatization)

£  แบบศูนย์การเรียน (Learning Center)                  þ  กรณีตัวอย่าง (Case study)

£  การใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)                  £  การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)

£  การบทเรียนโปรแกรม (Programmed Instruction)    £  การใช้เกม (Game)

£  อื่นๆ (ระบุเพิ่มเติม).....................................................................................................................................

 

๙. สื่อ / แหล่งการเรียนรู้

วัสดุ อุปกรณ์ สิ่งของ สื่อธรรมชาติ หรือสื่อเทคโนโลยี

                    ๑) ใบงานที่ 1 เรื่อง ลักษณะการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย

                    ๒) หนังสือแบบเรียนฟิสิกส์ เล่ม 3 (ฉบับปรับปรุง 2560)

                    ๓) คลิปตัวอย่างที่แสดงการเคลื่อนที่แบบต่างๆ จำนวน 6 คลิป


ยินดีต้อนรับสู่ Blog ของผมครับ

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blog ส่วนตัวของผมครับ  ผมชื่อ วรรธนะ โกศัลวัฒน์ เป็นครูสอนวิชาฟิสิกส์ ระดับมัธยมปลาย อยู่ที่ โรงเรียนสารสาสน์...